Search

เกษตรฯ ดัน 5 คลัสเตอร์ นำร่องผลไม้-ประมง 'อีอีซี' - กรุงเทพธุรกิจ

ikunabgus.blogspot.com

24 มิถุนายน 2563 | โดย ยุพิน พงษ์ทอง

46

กระทรวงเกษตรฯพร้อมตั้งปลัดเป็นประธานคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาเกษตรในEEC ชี้คลัสเตอร์ผลไม้ ประมงควรเร่งดำเนินการใน5 ปี ขณะทุเรียนเสี่ยงล้นตลาด ขณะประมงความต้องการเพิ่มกว่า 49 %

คณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.2563 รับทราบการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในอีอีซี ซึ่งจะเป็นการยกระดับรายได้เกษตรกรให้เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ โดยแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่อีอีซี ได้แก่

1.ใช้ความต้องการนำการผลิต โดยประเมินความต้องการในประเทศเพื่อรองรับมหานครการบินภาคตะวันออก เมืองใหม่ และการท่องเที่ยว รวมทั้งประเมินความต้องการในต่างประเทศ ซึ่งจะสำรวจตลาดหาความต้องการเอเชีย CLMV และยุโรป ที่มีความต้องการสูง และสร้างความต้องการด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่

2.ยกระดับการตลาด-การแปรรูป-การเกษตร ด้วยเทคโนโลยีในทุกขั้นตอน โดยสร้างตลาดด้วยกลไก E-Commerce E-Auction ขายไปทั่วโลก รวมทั้งเชื่อมระบบโลจิสติกส์ตั้งแต่ส่งออก-ขายในประเทศ-จนถึงการรวมสินค้าระดับฟาร์ม ให้สะดวกระดับสากล

รวมทั้งแปรรูปด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ได้สินค้าคุณภาพมาตรฐานระดับโลก โดยเก็บรักษาผลไม้ อาหารทะเล ด้วยระบบห้องเย็น พร้อมปรับกระบวนการในฟาร์มให้ผลิตสินค้าตรงกับตลาด และสร้างงานวิจัยเชิงด้านเทคโนยีที่ใช้งานได้จริงตรงกับความต้องการในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ หีบห่อ การแปรรูป การปลูก การควบคุมความเสี่ยงจากภูมิอากาศ และจัดกลุ่มเกษตรกร จัดทำโซนนิ่ง เพื่อสะดวกในการเสริมสร้างความรู้ใหม่ การตลาด-การผลิต-การเงิน

3.ให้ความสำคัญกับ 5 คลัสเตอร์ที่มีพื้นฐานทำได้ทันที

159291933366

สำหรับคลัสเตอร์ที่จะดำเนินการ ประกอบด้วย

1.คลัสเตอร์ผลไม้ เน้นคุณภาพสินค้าสู่ตลาดโลก Premium

2.คลัสเตอร์ประมง เพิ่มมูลค่า สร้างอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต 

3.คลัสเตอร์พืชสำหรับ Bio-based Product สร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมชีวภาพ 

4.คลัสเตอร์พืชสมุนไพรต่อยอดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงและสร้างเศรษฐกิจฐานชีวภาพ

5.คลัสเตอร์ High Valued Crops จะปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกสู่พืชมูลค่าสูง เช่น ไม้ประดับ ผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงโคขุน

ทั้งนี้ ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในอีอีซี เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ จะตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในอีอีซี โดยมี นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เลขาธิการ สศก.และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นคณะทำงานและเลขานุการร่วม

คณะทำงานชุดนี้จะจัดทำแผนงานโครงการด้านการเกษตรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอีอีซี และเป็นแผนงานที่สามารถรองรับต่อสถานการณ์หลังโควิดในรูปแบบนิวนอร์มอล รวมถึงจะมีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลด้านการเกษตรแห่งชาติ (Big Data) ของศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ National Agricultural Big data Center (NABC) ด้วย

ทั้งนี้ การใช้อีอีซีเป็นต้นแบบเพื่อปรับการทำเกษตรในรูปแบบทันสมัย จะเป็นโอกาสพัฒนาภาคการเกษตร โดยจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรด้วยการจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจ (โซนนิ่ง) เพื่อกำหนดพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตรตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และตามความต้องการวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรม 

การดำเนินการต้องบริหารจัดการน้ำรองรับความต้องการอุปโภคบริโภค การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการและการท่องเที่ยวอย่างสมดุล ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มตัวอย่างด้านการเกษตรของประเทศที่ยกระดับให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง พร้อมทั้งเกิดประโยชน์กับภาคประชาชนในอีอีซีและจังหวัดใกล้เคียง

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การพัฒนาคลัสเตอร์ผลไม้และประมง ควรเป็นกลุ่มแรกที่ควรขับเคลื่อนในช่วง 5 ปีนี้ เพราะความต้องการในตลาดโลกต้องการผลไม้เมืองร้อนเพิ่มต่อเนื่องทั้งจีนและตลาดเกิดใหม่ เช่น ตะวันออกกลางที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ในขณะที่การส่งออกผลไม้ของไทยในช่วงปี 2553-2559 ไทยส่งออกไปจีนมากที่สุด รองลงมาคือ เวียดนาม ซึ่งสินค้าสำคัญที่ส่งออก เช่น ทุเรียนสด ลำไยสด มะม่วงสด

ทั้งนี้ คลัสเตอร์ผลไม้มีความเสี่ยงต่อทุเรียนล้นตลาด เพราะการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนใน 5 ปีที่ผ่านมา มีมากกว่า 2 แสนไร่ อาจทำให้ทุเรียนล้นตลาด 3-4 แสนตันต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้า 

ดังนั้นการจัดการผลผลิตทุเรียนควรขยายทั้งตลาดแมสและตลาดนีชมาร์เก็ตในประเทศที่เคยบริโภค แล้วพัฒนาแพ็คเกจให้รักษาผลไม้ได้นาน และขยายการส่งออกไปประเทศที่ไม่เคยนำเข้าผลสด เช่น ตะวันออกกลาง ยุโรป และพัฒนาให้เป็น Bio-Components และ Bio-based Products โดยใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ

สำหรับคลัสเตอร์ประมง พบว่าการบริโภคและการค้าในสินค้าอาหารทะเลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยการจับสัตว์ทะเลในทะเลน้าลึกมีข้อจำกัดมากขึ้น ขณะที่การเพาะเลี้ยงชายฝั่งมีแนวโน้มขยายตัว เพื่อเติมเต็มความต้องการในอาหารทะเลของโลก และไทยส่งออกอาหารทะเลเป็นหลัก โดยมีมูลค่าส่งออกกุ้งเพาะเลี้ยงมากกว่า 6 หมื่นล้านบาทต่อปี และมีตลาดหลัก คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังเป็นผู้ส่งออกทูน่าอันดับ1 ของโลกด้วย

การพัฒนาคลัสเตอร์ประมงควรเน้นเพิ่มผลผลิตเพื่อรองรับความต้องการบริโภคในอีอีซีที่เพิ่มขึ้น คาดว่าเพิ่มขึ้น 49.6% หรือความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น 67,163 ตันต่อปี พัฒนาผลผลิตการประมงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อมุ่งสร้างและเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผลผลิตประมงอัจฉริยะ สร้างศักยภาพการผลิตที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

Let's block ads! (Why?)




June 24, 2020 at 04:56AM
https://ift.tt/2YYn8DA

เกษตรฯ ดัน 5 คลัสเตอร์ นำร่องผลไม้-ประมง 'อีอีซี' - กรุงเทพธุรกิจ

https://ift.tt/2Y3VpRs


Bagikan Berita Ini

0 Response to "เกษตรฯ ดัน 5 คลัสเตอร์ นำร่องผลไม้-ประมง 'อีอีซี' - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.