บิ๊กประมงขานรับฤดูปิดอ่าว ห่วงช่องโหว่อนุญาตให้ ‘อวนจม’ จับพ่อแม่พันธุ์ในฤดูวางไข่ หวั่นปลาทูสูญพันธุ์
เมือวันที่ 14 มิถุนายน นายมงคล เจริญสุขคณา อดีตประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมประมงสมุทรสงคราม, นายกสมาคมเรือลากคู่สมุทรสงคราม เปิดเผยกรณีที่กรมประมง ประกาศปิดอ่าวไทยตอนบน(อ่าวรูปตัว ก.ไก่) ตั้งแต่ จ.ชลบุรี ถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ สองช่วงคือระหว่าง 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม และ 30 สองหาคม – 30 กันยายน เพราะให้สัตว์ทะเลวางไข่ และได้เจริญพันธุ์เต็มวัยโดยเฉพาะปลาทู ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ว่า ทางสมาคมประมงสมุทรสงคราม และสมาคมท้องถิ่นต่างๆ เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในการปิดอ่าวเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เนื่องจากภาคประมงได้การผลักดันให้มีการปิดอ่าวมาตั้งแต่ปี 2553-2555 จนประสบความสำเร็จ เริ่มปิดอ่าว ห้ามเครื่องมือทุกชนิดทำประมงในฤดูวางไข่ และในช่วงปี 2556 – 2557 ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาทู ในอ่าว กอ.ไก่ เพิ่มขึ้นมากมาย มีปลาทูเข้ามานับล้านๆกิโลกรัม ห้องเย็นทุกแห่งเต็มหมด
นายมงคลกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามยังเห็นช่องโหว่ในการบังคับปิดอ่าว คือระยะหลัง กรมประมงได้ผ่อนผันอนุญาตให้เครื่องมือบางชนิดที่จับพ่อแม่พันธุ์สามารถทำการประมงในฤดูปลาวางไข่ได้ คือ “อวนติดตา” เนื่องจากกรมประมงคิดว่าเป็นเครื่องมือประสิทธิภาพต่ำ แต่ปัจจุบันชาวประมงพัฒนาเครื่องมือชนิดนี้จากอวนลอยซึ่งจะจับปลาได้แต่ผิวน้ำ เปลี่ยนเป็นอวนจม ซึ่งจะจมถึงพื้นทะเล เข้าจับปลาในฤดูวางไข่ และพื้นที่อนุรักษ์ได้ ทำให้เกิดปัญหามาถึงทุกวันนี้ เพราะฤดูปลาวางไข่ ปลากำลังว่ายเข้าวางไข่ ปลาที่มีไข่เต็มท้องจะหนักจมถึงพื้นทะเลก็ไม่รอดถูกจับหมด ประกอบกับชาวประมงจะใช้อวนจมเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต เป็น 10 -100 เท่า เช่น ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ลำละไม่เกิน 2,000-2,500 เมตร แต่ชาวประมงลักลอบ นำเครื่องมืออวนจม ออกไปวางยาวถึง 10,000 – 20,000 เมตร จนทำให้ มีการดักจับพ่อแม่พันธุ์ ปลาทูไปก่อน ที่จะได้วางไข่ไปก่อนจนเกือบหมด เลยทำให้เป็นการตัดวงจรชีวิต ปลาทูทำให้ไม่มีโอกาส ได้ขยายพันธ์
“ทางสมาคมประมง พยายามผลักดันและไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของกรมประมง ที่ยังอนุญาตปล่อยให้ในการใช้เครื่องมือจากพ่อแม่พันธุ์ในการทำประมงในฤดูปลาวางไข่ เพราะเป็นการตัดวงจรของชีวิตสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาทู เพราะหากเรือประมงจับปลาทู 1,000 ลำ ลำละ 200 กิโลกรัม จะเป็นพ่อแม่ปลาทู 2,400,000 ตัว ปลาทูเหล่านี้ตัวหนึ่งจะมีไข่ 200,000 ฟอง ก็เท่ากับเรากินลูกปลาทูเข้าไปด้วยถึง 4 แสนล้านตัว ในทางกลับกัน หากปลาทูที่มีไข่เต็มท้องเหล่านี้ ได้รอดออกไปวางไข่เสียก่อน จะทำให้มีปลาทูเต็มท้องทะเลแน่นอน อยากจะฝากไปยังกรมประมงคำนึงถึงทรัพยากรเป็นตัวตั้ง ต้องห้ามเครื่องมือทุกชนิดจับปลาในฤดูวางไข่ จะทำให้ประสบความสำเร็จที่แน่นอนและยั่งยืนของพี่น้องชาวประมงทั้งประเทศ” นายมงคล กล่าว
นายมงคลกล่าวต่อว่า สมาคมประมง ไม่ได้ห้ามเครื่องมืออวนลอย แต่อยากให้กรมประมงห้าม เครื่องมืออวนจม ที่จับพ่อแม่พันธุ์ จึงฝากกรมประมงให้พิจารณาด้วย เพราะสมาคมประมงผลักดันมาอย่างยาวนาน แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ หากกรมประมงมีความจริงใจที่จะแก้ปัญหา ขอให้ห้ามเครื่องมืออวนจม แต่เปลี่ยนเป็นอวนลอย ชาวประมงก็ไม่เดือดร้อน แต่หากกรมประมงทำไม่ได้ปลาทูก็จะสูญพันธ์ เพราะถูกจับมาก่อนที่จะวางไข่ ก็ฝากด้วยสมาคมประมงพยายามพลักดันมาโดยตลอด ไม่ใช่ว่าทรัพยากรไม่ฟื้นก็มาลงที่ประมงพาณิชย์พาณิชย์ ซึ่งข้อเท็จจริงพาณิชย์ตั้งใจและผลักดันรักษาทรัพยากร เพราะว่าเป็นอาชีพที่ต้องการสร้างความยั่งยืน การทำประมงต้องลงทุนมากคงไม่ต้องการให้ทรัพยากรหมดอย่างรวดเร็ว ขอให้เปลี่ยนวิธีคิดด้วยว่าชาวประมงพาณิชย์ไม่ได้ใช้เครื่องมือทำลายล้างอย่างที่กล่าวหา
June 14, 2020 at 04:43PM
https://ift.tt/2UJNvMb
บิ๊กประมงขานรับฤดูปิดอ่าว ห่วงช่องโหว่อนุญาตให้ 'อวนจม' จับพ่อแม่พันธุ์ในฤดูวางไข่ หวั่นปลาทูสูญพันธุ์ - มติชน
https://ift.tt/2Y3VpRs
Bagikan Berita Ini
0 Response to "บิ๊กประมงขานรับฤดูปิดอ่าว ห่วงช่องโหว่อนุญาตให้ 'อวนจม' จับพ่อแม่พันธุ์ในฤดูวางไข่ หวั่นปลาทูสูญพันธุ์ - มติชน"
Post a Comment